บทที่1

หน่วยที่ 1 หลักการทำงานของบริการเว็บไซต์บนระบบอินเทอร์เน็ต

  • 1.1 หลักการทำงานของบริการเว็บไซต์บนระบบอินเทอร์เน็ต
  • 1.2 การร้องขอบริการเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)
  • 1.3 โดเมนเนม (Domain Name)
  • 1.4 โฮสติ้ง (Hosting)

1.1 หลักการทำงานของบริการเว็บไซต์บนระบบอินเทอร์เน็ต
    การทำงานของบริการเว็บไซต์เป็นการทำงานแบบไคลเอ็นต์-เชิร์ฟเวอร์ (Client-Server) ซึ่งมีเครื่องไคลเอ็นต์ (Cient) หรือเครื่องผู้ใช้งานทั่วไปทำหน้าที่เป็นผู้ร้องขอบริการด้วยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) และมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการต่าง ๆ เช่น การประมวลผลและเก็บข้อมูลโดยใช้โพรโทคอล HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ในการสื่อสารระหว่างเครื่องไคลเอ็นต์ (Client) และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server)

1.2 การร้องขอบริการเว็บไชด้วยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)
    โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) คือ โปรแกรมร้องขอบริการต่าง ๆ ของเว็บไซต์โดยผ่านโพรโทคอล (Protocol)

      1.2.1 Mozilla Firefox
          เป็นเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซทั่วไป สามารถเพิ่มปลั๊กอินเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน

Mozilla Firefox
(ที่มา : https://www.techtalkthai.com/mozilla-firefox-patch-57-0-1-critical-vulnerbility/)

      1.2.2 Google Chrome
          เป็นโปรแกรมเว็บเบราว์ซอร์แบบ Open Source พัฒนาโดยบริษัท Google

Google Chrome
(ที่มา : https://www.pngegg.com/th/png-zctof)

      1.2.3 Internet Explorer (ยุติการให้บริการ และได้ดันให้ใช้ Microsoft Edge แทนแล้ว )
        เป็นโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์และเป็นชอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีความเสถียรมากที่สุดสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows)

Internet Explorer
(ที่มา : https://iconape.com/internet-explorer-tile-10-11-logo-icon-svg-png.html)

      1.2.4 Opera
       เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์ ปัจจุบันโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) Opera เป็นผู้นำด้านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) สำหรับโทรศัพท์มือถือและพีดีเอ

Opera
(ที่มา : https://icon-icons.com/th/)

      1.2.5 Safari
         เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิ้ล ปัจจุบันสามารถนำโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) Safari มาใช้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้

Safari
(ที่มา : https://icon-icons.com/th/)

1.3 โดเมนเนม (Domain Name)    ชื่อโดเมน (Domain Name) คือ ชื่อที่ถูกเรียกแทนหมายเลข IP Address ที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์เพื่อระบุถึงหมายเลขที่อยู่ไอพีของชื่อนั้น ๆ ซึ่งมักเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงานหรือสินค้า เช่น เว็บไซต์ของ www.retc.ac.th มีหมายเลข IP คือ 119.05.205.33 ซึ่งยากต่อการจดจำ ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.ptl.ac.th ซึ่งคือชื่อโดเมนของวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง

      1.3.1 การจดทะเบียนชื่อโดเมนแบ่งเป็น 2 ประเภท

1.การจดทะเบียนโดเมภายในประเทศ

.co.th เป็นโดเมนเนมภายในประเทศที่มีการจดทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ การจดทะเบียนเว็บไชต์ของบริษัทห้างร้าน

.or.th เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับการจดทะเบียนเว็บไซต์ของส่วนราชการ

.ac.th เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับการจดทะเบียนเว็บไซของสถานศึกษาต่าง ๆ

.in.th เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับการจดทะเบียนเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาทั่วไป

.go.th เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ส่วนงานราชการของประเทศไทย

.net.th เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับเว็บไซบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกันกับระบบNetwork หรือ ISP ในประเทศ

2.การจดทะเบียนโดเมนภายนอกประเทศ

.com เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์บริษัท ห้างร้าน รวมถึงเว็บไซต์ส่วนตัว

.net เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Network หรือการใช้บริการอินเทอร์เน็ต

.org เป็นโดเมนที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ของส่วนราชการ และมีการนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นๆ

      1.3.2 ประเภทของ Domain Name แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โดเมน 2 ระดับ และโดเมน 3 ระดับ

1.โดเมน 2 ระดับ ประกอบด้วย ชื่อโดเมน (Domain Name) และประเภทขององค์กรที่จดทะเบียน โดยมีรูปแบบ ดังนี้

.com - กลุ่มองค์กรการค้า

.edu - กลุ่มการศึกษา

.gov - กลุ่มองค์กรรัฐบาล

.mit - กลุ่มองค์กรการทหาร

.net - กลุ่มการบริการเครือข่าย

.org - กลุ่มองค์กรอื่น ๆ

2.โดเมน 3 ระดับ ประกอบด้วย ชื่อโดเมน (Domain Name) ประเภทขององค์กรที่จดทะเบียนและประเทศที่จดทะเบียน โดยมีรูปแบบ ดังนี้

.go - หน่วยงานรัฐบาล

.ac - สถาบันการศึกษา

.CO - องค์กรธุรกิจ

.or - องค์กรอื่น ๆ

1.4 โฮสติ้ง (Hosting)
    โฮสติ้ง (Hosting) คือ การเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไซต์ไว้ที่เครื่อง Server ที่ให้บริการ Upload ข้อมูลโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยการเช่าโฮสติ้งในแต่ละผู้ให้บริการมีข้อจำกัดและบริการที่แตกต่างกัน เช่น โฮสติ้ง(Hosting) ในราคา 800 บาทต่อเดือน เป็นโฮสติ้ง (Hosting) ที่รองรับภาษา PHP, HTML5JavaScript, Ajax หรือรองรับเว็บไซต๊สำเร็จรูป CMS เป็นต้นการอัปโหลดไฟล์ข้อมูลต่างๆ ของเว็บไซนิยมใช้โปรแกรม FileZilla โดยการเลือกใช้โปรแกรมอัปโหลดไฟล์ข้อมูลขึ้นอยู่กับความถนัดและความเหมาะสมของผู้ใช้งาน การอัปโหลดไฟล์ข้อมูลจำเป็นต้องมีข้อมูลการจดทะเบียนการเช่าโฮสต์ (Hosting) ได้แก่ Host, Username, Password และ Port